หม้อแปลงไฟฟ้า

ชวนหาคำตอบ หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดเกิดจากอะไร ทำไมถึงระเบิด?

                “ตู้ม!” เสียงระเบิดดังสนั่นของหม้อแปลงไฟฟ้า ที่ตามมาพร้อมไฟดับทั้งซอย เป็นเหตุการณ์ที่ใครหลายคนคงเคยเจอ แม้มันอาจเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่คงจำได้ฝังใจ เพราะเสียงดังจนน่าตกใจ แถมยังเอาความมืดและความร้อนมาด้วยอีก

                ซึ่งเวลาหม้อแปลงระเบิด ผู้ใหญ่ก็มักจะบอกว่าเป็นเพราะกระแสไฟมากเกินไปบ้าง หรือฟ้าผ่าบ้าง แต่คุณเคยสงสัยกันสักนิดไหมว่าสาเหตุมันมีแค่นี้จริงเหรอ หรือมีอะไรมากกว่านั้นที่ยังไม่เคยรู้มาก่อนอีกหรือไม่ เราชวนมาคำตอบพร้อมกันกับบทความนี้

ที่ระเบิดไม่ใช่หม้อแปลงไฟฟ้าแต่เป็นฟิวส์

            เสียงดังตู้มที่เราเรียกติดปากกันบ่อย ๆ ว่าหม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดนั้น ความจริงแล้วที่ระเบิดไม่ใช่หม้อแปลงแต่เป็นดรอปเอาท์ฟิวส์ (Dropout Fuse Cutout) หรืออุปกรณ์ป้องกันที่ใช้ในระบบจําหน่ายไฟฟ้าแรงสูง ทําหน้าที่ป้องกันหม้อแปลงไฟฟ้าและสายเมนย่อยที่แยกมาจากสายเมนในระบบจําหน่ายที่มีกระแสไม่เกิน 100 แอมป์ แต่ในบทความนี้จะเรียกว่าหม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดเพื่อความเข้าใจตรงกัน

โดยสิ่งที่ทำให้กระแสไฟฟ้าผิดปกติจนหม้อแปลงไฟฟ้าระเบิด มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ใช่เพียงแค่กระแสไฟมากเกินไปหรือฟ้าผ่าอย่างที่เคยรู้กันมาเท่านั้น

หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดเพราะกระแสไฟมากเกิน

กระแสไฟไหลผ่านหม้อแปลงไฟฟ้ามากเกินไป (Overload) เป็นสาเหตุยอดฮิตของหม้อแปลงระเบิด เพราะกระแสไฟฟ้าที่มากเกินพิกัดของดรอปเอาท์ฟิวส์ จะทำให้ตัวเชื่อมฟิวส์อุณหภูมิสูงขึ้นจนหลอมละลาย เกิดช่องว่าง และระเบิดในที่สุด

หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดเพราะน้ำมันเสื่อม

            น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าเสื่อมสภาพเกิดจากความร้อนที่สะสมเป็นเวลานาน ความชื้นจากการรั่วซึมของหม้อแปลง รวมทั้งความผิดปกติของตัวหม้อแปลงเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่หากเกิดขึ้นแล้วบังเอิญได้เจอกับกระแสไฟเกินขนาด จะยิ่งทำให้การระเบิดรุนแรงมากขึ้น เพราะเดิมทีน้ำมันหม้อแปลงทำหน้าที่เป็นฉนวนและระบายความร้อนให้กับขดลวดภายใน เมื่อไหร่ที่มันเริ่มเสื่อมสภาพก็จะทำให้อุณภูมิในหม้อแปลงสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเหมือนเคย

หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดเพราะต่อไม่ถูก

            การต่อหม้อแปลงไฟฟ้าแบบผิด ๆ มีสิทธิ์ทำให้หม้อแปลงระเบิดได้เช่นกัน เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลสับสน และองค์ประกอบภายในจะทำงานผิดพลาดได้ โดยวิธีการต่อที่ถูกต้องได้แก่

  • หาขั้วหม้อแปลงให้เจอ ถ้าหม้อแปลงไม่ได้ระบุมา สามารถทดสอบได้โดยการต่อวงจรหม้อแปลง พร้อมป้อนแรงดันด้านปฐมภูมิเข้าไป แล้วนำโวลต์มิเตอร์มาวัดค่าแรงดันที่ได้
  • ต่อหม้อแปลงให้เหมาะสมกับกำลังไฟ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า 1 เฟส จะต่อแบบขนาน หม้อแปลงไฟฟ้า 3 เฟส จะต่อแบบ Y – Y Connection เป็นต้น

หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดเพราะฟ้าผ่า

            เมื่อไหร่ที่ฝนตกหนัก ฟ้าผ่า แล้วสายดินของหม้อแปลงไฟฟ้าไม่ดีหรือไม่ทำงาน กระแสไฟที่ผ่าลงมาจากฟ้า ซึ่งมีพลังงานและอุณหภูมิมหาศาลก็จะสัมผัสโดยตรงที่หม้อแปลง เป็นสาเหตุให้หม้อแปลงระเบิดได้เช่นกัน

                อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ทำให้หม้อแปลงไฟฟ้าระเบิดยังมีอีกมากมายขึ้นกับปัจจัยและสถานการณ์ที่ต่างกันออกไป แต่ทั้งนี้การระเบิดจะไม่เกิดขึ้น หากผู้ติดตั้งหม้อแปลงมีความเชี่ยวชาญ และตัวหม้อแปลงมีมาตรฐานระดับสากล

ติดต่อบริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (PEM) ผู้นำด้านการออกแบบสินค้า ผลิต และจัดจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบจำหน่าย ตลอดจนงานบริหาร รับเหมา ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าแบบครบวงจร เพื่อทำการติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าได้ที่ https://preciseproducts.in.th/

อีเมล์ online.sale@precise.co.th

โทร 02-584-2367 ต่อ 609 หรือ 092-283-6660